ปัญหาของระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยกับ “9 ทันโรค” ฉบับพิเศษทันเหตุการณ์ (วัยรุ่นเค้าเรียกสุดจ๊าบ…ฮา)
เนื่องในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ปี 2542 นี้เป็นปี “ผู้สูงอายุสากล” ท่านสมาชิกก็เรียกร้องกันมาว่าไอ้เรื่องท้องไส้มีปัญหาเนี่ยมีม๊ากมาก…ช่วยมาเล่าแจ้งแถลงไขหน่อยเถอะ แล้ว
เราจะอยู่นิ่งเฉยได้อย่างไร ไม่ปฏิเสธอยู่แล้วถ้าเราว่ากันอย่างกว้างๆ ว่าปัญหาของระบบทางเดินอาหารในคนสูงอายุเนี่ยมันต่างจากคนหนุ่มสาวตรงไหน ก็ขอสาธยายให้ฟังเป็นข้อๆ (อย่างย่อๆ นะ) ดังนี้
- โรคบางโรคเป็นปัญหาของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
- ในโรคเดียวกันผู้สูงอายุอาจมีอาการแตกต่างจากลุ่มหนุ่มสาว (ต่างกันลิบลับเลย)
- การดำเนินโรคแตกต่างกัน เช่น การกลับเป็นซ้ำแตกต่างกัน
- อันนี้แน่นอนเมื่ออ่านข้อ 1 ถึง ข้อ 3 แล้ว การดูแลเป็นพิเศษ และการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

ยังไม่งงใช่มั๊ย…ผมขอยกตัวอย่างเลยนะเอาเรื่องที่เจอบ่อยสุดเลยก็ “ปวดท้อง” ไง คนสูงอายุเนี่ยบางคนกระเพาะอาหารทะลุไปแล้วหรือไส้ติ่งแตกไปแล้ว
กลับปวดท้องไม่มากเท่าที่ควร ถ้าหมอไม่สงสัยละก็อาจตรวจวินิจฉัยไม่ได้ ในทางกลับกันคนไข้ก็ไม่รู้สึกว่าป่วยมาก จึงมาหาหมอค่อนข้างช้าซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นรุนแรงได้
ยังคงอยู่กับเรื่อง “ปวดท้อง” อีกนั่นแหละ คราวนี้ว่ากันถึงสาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลัน (acute abdomen) ในผู้สูงอายุเป็นถุงน้ำดีอักเสบประมาณ 20%, ลำไส้อุดตัน 12% และมะเร็งถึง 4%, และถ้าอายุเกิน 70 ปีละก็ มีรายงานว่ามะเร็ง (ต่างๆ) เป็นสาเหตุถึง 25% ทีเดียว ขณะที่ในวัยหนุ่มสาวนั้นปวดท้อง
เฉียบพลันจากมะเร็งมีน้อยกว่า 1% เสียอีก สนุกและน่าสนใจแล้วไช่มั๊ยละ…หรือว่างง ! เอางี้ดีกว่าเรามาดูว่าผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาอะไรบ้าง
กลืนลำบาก (Dysphagia)สาเหตุก็มาจากการบีบตัวของหลอดอาหารอ่อนแอลงไป รวมทั้งเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงก็เสื่อมลงตามวัยทำให้บีบตัวผิดปกติ ทำให้กลืนแล้วติดแน่น ๆ หน้าอก บางคนก็บ่นเจ็บ ถ้าแย่หน่อยก็สำลัก หรืออาเจียน พาลให้ไม่อยากกินข้าวปลา น้ำหนักลดไปเลยก็มี อ้อ…เกือบลืม ปัญหานี้ยังพบได้ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคของสมองชนิดอื่นๆ , โรคของต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวานเรื้อรัง
อย่าเพิ่งตกใจไปนะครับ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคร้ายหรอก เกือบครึ่งหนึ่งเป็นหลอดอาหารตีบ หลอดอาหารอักเสบ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นมะเร็งของหลอดอาหารหรือมะเร็งในช่องทรวงอกมากดทับหลอดอาหาร
ดังนั้นจึงควรมาให้แพทย์ตรวจให้แน่นอนว่าเป็นอะไรกันแน่ วิธีที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นการส่องกล้องตรวจหลอดอาหารและทางเดินอาหาร ส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscope) อันนี้เห็นภาพชัดเจนเหมือนมองจากกล้องถ่ายรูปน่ะแหละ แถมมีข้อดีที่เมื่อเห็นความผิดปกติแล้วก็ตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยาได้เลย
ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ leeslakegenevaguideservice.com อัพเดตทุกสัปดาห์